บทความเกษตร » การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ กลิ่นไม่เหม็น ต้นทุนต่ำ

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ กลิ่นไม่เหม็น ต้นทุนต่ำ

13 กุมภาพันธ์ 2024
302   0

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ กลิ่นไม่เหม็น ต้นทุนต่ำ

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ


“หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียก การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืชสัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร

ข้อดีของการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม)

1. สามารถใช้วัสดุต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและในท้องถิ่น หาง่าย ราคาถูก
2. ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากมูลสุกรและน้ำเสีย
3. สามารถเลี้ยงในชุมชนได้ เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรและแมลงวัน
4. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการล้างทำความสะอาดคอกและบำบัดน้ำเสีย
5. มีระบบการหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในคอกหรือหลุมสุกร
6. มูลสุกรและวัสดุในหลุมซึ่งถูกหมักและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืช ปรับปรุงดินบำรุงดิน หรือจำหน่าย
7. ต้นทุนการผลิตต่ำโดยเฉพาะต้นทุนด้านอาหารสามารถลดได้ไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
8. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะ ทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
9. เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงและระบบเกษตรอินทรีย์

การสร้างโรงเรือน

พื้นที่ใช้ในการสร้างโรงเรือน ควรเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึงสร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก และทิศตะวันตก วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ควรเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น โกรงหลังาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือหญ้าแฝก ใบจาก

การเตรียมคอก

ขนาดคอกกว้าง 1.5 x 2 เมตร สามารถเลี้ยงหมูได้ 2 ตัว เริ่มด้วยการขุดพื้นคอกลึกลงไป 90 ซม. (หรือขุดเพียง 45 ซม.แล้วเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมค้านข้างก็จะได้ความลึก 90 ซม.) ในการมุงหลังกากวรให้ชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอกและเมื่อตีฝาคอกแล้วควรใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดิน 40-50 ซม.เพื่อกันไม่ให้หมูขุดออกนอกคอก สิ่งที่ต้องคำนึงคือ บริเวณที่จะทำการสร้างคอกไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมขังและควรเป็นที่ร่มใต้ต้นไม้อากาศถ่ายเทได้ดี

การเตรียมวัสดุพื้นคอก

เมื่อขุดหลุมเสร็จ ปูพื้นคอกโดยใช้แกลบ 10 ส่วนผสมดินละเอียด เ ส่วน เทลงกันหลุมที่ขุดไว้ให้มีความหนา 30 ซม.แล้วใช้เกลือเม็ด 1ถ้ยตราไก่หรือประมาณรึ่งลิตรโรยหน้าแล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 บัว (10 ลิตร) ราดให้ทั่ว ทำเหมือนเดิมอีก 2 ชั้น จนเท่าระดับพื้นดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จึงนำหมูเข้าอยู่และควรราดน้ำหมักชีวภาพลงบนพื้นคอกเพิ่มเติมทุกๆ 5-7 วัน ครั้งละ 1 บัว ภายหลังการเริ่มเลี้ยงแล้วเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

ในกรณีที่ไม่สามารถหาแกลบได้อย่างเพียงพอที่จะเติมจนครบสามชั้น สามารถเติมเพียงชั้นเดียวก่อนแล้วนำหมูลงไปเลี้ยงระยะหนึ่งแล้วค่อยๆ เติมจนครบสามชั้นในภายหลัง หรือไม่ก็ใช้วัสดุอื่น เช่น ฟางข้าว หรือ ขี้เลื่อย มารองใส่ชั้นล่างสุดแทนแกลบก็ได้

การให้อาหาร

ลูกหมูที่นำมาเลี้ยงควรมีน้ำหนัก 15 – 20 กก. ในช่วงเดือนแรก ควรให้อาหารสำหรับหมูเล็ก โดยผสมรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลือง ปลาน หรือใช้น้ำหอยเชอรี่หมักแทนปลาปน จนน้ำหนักหมูได้ 30 กก.ขึ้นไป อาหารหมูได้แก่ เสษอาหารเหลือทิ้งจากมนุษย์เศษพืชต่างๆ หญ้าสด หญ้าหมัก ฟางข้าว ดิน ใบไม้ผุ จุลินทรีย์ท้องถิ่น น้ำหมักจากพืชสีเขียว และแบคที่เรียกลุ่มแลคติก จะใช้อาหารสำเร็จรูปเพื่อใช้ผสมร่วมกับอาหารที่ทำขึ้นเองบางส่วนเท่านั้น ให้พืชสด ใส่ให้กินในคอกเลย เศษซากพืชบางชนิดต้องหมักก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยก่อน

ตัวอย่างสูตรอาหาร

สูตร 1

  • หยวกกล้วย + มะละกอดิบ + ผักบุ้ง + เถามันเทศ + เศษผักหรือวัชพืช สับให้ละเอียด  100 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง 4  กิโลกรัม
  • เกลือ 1  กิโลกรัม
  • หมักทิ้งไว้ 5 ถึง 7 วัน
  • ผสมหัวอาหาร  3  กิโลกรัม
  • สามารถเติมน้ำหมักแบคทีเรียแลคติก

สูตร 2

  • หยวกกล้วย เศษผัก ฯลฯ สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ  25  กิโลกรัม
  • น้ำใส่ถังแล้วโรยด้วยเกลือแกง  200  กรัม
  • ผสมน้ำหมักชีวภาพ,หัวเชื้อจุลินทรีย์/EM 2 ฝา
  • น้ำตาลทรายแดงกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม (เทผสมแล้วปีดฝาทิ้งไว้ 5 – 7 วัน สามารถเก็บได้นาน 30 วัน)

ตัวอย่างสูตรอาหารข้น 

สูตร 1

  • หินฝุ่น  1.5  กิโลกรัม
  • เกลือแกง  0.35  กิโลกรัม
  • พรีมิกซ์  0.25  กิโลกรัม
  • ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต  0.5  กิโลกรัม
  • ปลาป่น  1  กิโลกรัม

(ผสมส่วนที่ 1- 5 ให้เข้ากัน)

  • ข้าวโพดบด  60  กิโลกรัม
  • กากถั่วเหลือง  14  กิโลกรัม
  • รำละเอียด  23  กิโลกรัม

โดยให้อาหารหมัก 70 % ผสมอาหารข้น 30 % เช้า – เย็น

  • โดยหมูน้ำหนัก 30 – 60 กก. ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมน้ำหมัก 1 ส่วนให้กิน 2 – 3  กิโลกรัม ต่อวัน
  • หมูน้ำหนัก 60 กก.  ขึ้นไป ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมน้ำหมัก 1 ส่วน ให้กิน 4- 6  กิโลกรัม ต่อวัน

การให้อาหารและน้ำ

ให้อาหารผสมหรืออาหารสำเร็จเพียงร้อยละ 30 เช่น เคยให้ตัวละ 2 กก. ต่อวันก็จะต้องเหลือแค่ตัวละ  6  ขีดต่อวัน ( หรืออาหารสำเร็จ 150 กรัม หรือ 1.5 ขีด สามารถทดแทนด้วยผัก 1 กก.)  ส่วนอาหารที่จะให้หมูกินเป็นหลักคือ ผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป เช่น หยวกกล้วย ผักโขม ผักตบชวา ยอดกระถินโดยนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช่ในน้ำที่ผสมน้ำหมักชีวภาพไว้นานประมาณ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งใช้สูตรเดียวกับน้ำที่ให้หมูกินคือ ผสมน้ำหมักชีวภาพกับน้ำ ในอัตราส่วนตั้งแต่ 1 ต่อ 1,000 สำหรับหมูเด็ก (หมูหย่านม – 30 กก)  1 ต่อ 800 สำหรับหมูรุ่น ( น้ำหนัก30 – 60 กก) 1 ต่อ 500 สำหรับหมูใหญ่หรือหมูพ่อ-แม่พันธุ์ ( น้ำ 1 ปี๊บ มี 20 ลิตร หากเป็นหมูเล็กผสมแค่ 2 ช้อนโต๊ะ ,หมูรุ่น ผสม 3 ช้อนโต๊ะ,หมูใหญ่ ผสม 4 ช้อนโต๊ะ)

การดูแลสุขภาพ

แนวคิดการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ของการเลี้ยงหมูในรูปแบบนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้มีเชื้อโรคปราศจากเชื้อโรค แต่อยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้ตัวหมูซึ่งในทางวิทยาการระบาดถือเป็น โฮสต์ (Host) กับเชื้อโรค (Agent) และสิ่งแวดล้อม (Environment) อยู่ในสภาวะสมดุลข์ ซึ่งก็จะทำให้หมูไม่เป็นโรคโดยให้หมูได้อยู่อย่างสบายตามธรรมชาติซึ่งจะทำให้หมูสุขภาพดีและมีภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม เราควรเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่มีความเสี่ยง เช่น อหิวาตัสุกร โดยการทำวัคซีนก่อนนำหมูเข้าขุน ถ่ายพยาธิโดยใช้ยาถ่ายพยาธิที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หากเกิดเจ็บป้วยก็ทำการรักษา เราสามารถนำสมุนไพรมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้ แต่ต้องทำใจไว้ก่อนว่าผลการรักษาคงไม่เห็นทันตาเท่ากับยาแผนปัจจุบัน


บทความที่น่าสนใจ