ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง รสชาติหวาน กรอบอร่อย
ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง
เมื่อเราพูดถึงหน่อไม้นั้นน้อยคนที่จะนึกถึงหน่อไม้ฝรั่ง ส่วนมากจะนึกถึงหน่อไม้ทั่วไป เช่น หน่อไม้หวาน หรือหน่อไม้ทั่วไป เป็นต้น สมัยก่อนนั้นเราจะพบเจอหน่อไม้ฝรั่งที่บรรจุในกระป๋องขายที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเท่านั้น แต่นั้นปัจจุบันนั้น หน่อไม้ฝรั่งสามารถที่จะปลูกได้ในประเทศไทยแล้ว และนับวันจะเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านการใช้ประโยชน์ภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก เพราะมีรสชาติหวาน กรอบ ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด นิยมบริโภคกันทั้งในรูปสด แช่แข็ง และบรรจุกระป๋อง
อีกทั้งประเทศไทยยังมีสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งได้ตลอดปี มีปัญหาโรคและแมลงน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ แต่การจะผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่มีคุณภาพดีนั้น จำเป็นจะต้องรู้จักนิสัยการเจริญเติบโต วิธีการปลูก และมีการดูแลรักษาเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
การเตรียมดินเพื่อปลูก โดยใช้ปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์โรยบริเวณพื้นที่ที่ปลูกแล้วไถกลบ เพื่อให้ดินมีสภาพร่วนชุย ช่วยในการระบายและถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น
- ควรไถดินให้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เชนติเมตร เพื่อให้รากเจริญเติบโตและหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ดีใส่ปุ๋ยอินทรีย์ใน อัตรา 3 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15- 15 – 15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่
- ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 50 x 150 เซนติเมตร
กาปลูกและการดูแลรักษา
- เตรียมดินให้ลึก 30 -35 เชนติเมตร เพื่อให้รากเจริญเติบโตและหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15- 15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ระยะปลูกที่ใช้คือ 50 x 150-200 เซนติเมตร
- กล้าที่ใช้ปลูกควรมีลักษณะดังนี้
- สำหรับต้นกล้าที่จะปลูกควรอายุประมาณ 4-6 เดือน และความสูงของต้นนั้นควรมากกว่า 50 เซนติเมตร
- มีรากสะสมอาหารที่สมบูรณ์และมีจำนวนรากมากพอ
- มีตาสมบูรณ์ขนาดใหญ่ โดยรอบเหง้าและกล้าต้องปราศจากโรคแมลง
- เมื่อย้ายกล้าจากแปลงกล้าแล้วควรปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 3 วัน
- ใช้กล้า 1 ต้นต่อ 1 หลุม และในหลุมปลูกควรลึก 10- 15 เชนติเมตร กว้างยาวประมาณ 15 เชนติเมตร และทำเนินตรงกลางหลุม
- การปลูกนั้นให้วางกล้าในลักษณะแผ่รากให้กระจายบนเนิน ทิศทางของตาไปแนวเดียวกันกับแถว แล้วกลบดิน
เทคนิดการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบขาว
การพูนดินกลบโคน จะเป็นวิธีการที่กำหนดชนิดของหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวจำเป็นต้องกลบดินสูงกว่าหน่อไม้ฝรั่งหน่อเขียว เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเป็นหน่อที่อยู่ใต้ดิน ความสูงของดินที่กลบจะต้องสัมพันธ์กับความยาวของหน่อที่ตลาดต้องการ โดยเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้กับหน่อไม้ได้ด้วย
ขั้นตอนวิธีการทำ
- พูนดินกลบโคนด้วยดินหรือดินผสมแกลบให้สูงประมาณ 25-30 เชนติเมตร
- การพูนดินกลบโคนควรทำ 2 -3 ครั้งต่อไป โดยทำพร้อมกับการกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องกลบดินพูนโคนไว้เช่นเดิม
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา
- อายุเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน หลังจากเพาะเมล็ด
- การเก็บเกี่ยวควรทำช่วงเช้า 6.00 – 10.30 น.
- เมื่อเห็นหน่อโผล่สูงจากดินประมาณ 0.5 เชนติเมตร คุ้ยดินลงไปเก็บหน่อแล้วกลบดินไว้ตามเดิม
- การเก็บระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงหน่ออื่นที่จะแทงขึ้นมา และหน่อที่เก็บได้ให้รีบนำเก็บไว้ในที่ร่มเพื่อทำการคัดเกรด
- ถ้าเก็บหน่อไว้ไม่นาน ให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำสะอาดบิดให้หมาด คลุมตะกร้าไว้ อย่าให้หน่อเปียกน้ำ
- ถ้าต้องการเก็บรักษาไว้นาน ให้นำเอาตะกร้าที่บรรจุหน่อไม้ฝรั่งเก็บใส่ถังน้ำแข็งหรือตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 2 องศาเซลเชียส และอย่าให้หน่อเปียกน้ำ
โรค และ แมลงศัตรูหน่อไม้
โรคแมลงเป็นศัตรูที่มีความสำคัญต่อการปลูกหน่อไม้ฝรั่งเป็นอย่างมาก หากปล่อยให้มีการระบาดรุนแรงแล้ว จะทำให้ได้ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ เป็นผลเสียอย่างมากต่อการส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายสู่ตลาดภายใน และต่างประเทศ ฉะนั้น จึงควรได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
โรคที่สำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง ได้แก่
1. โรคลำต้นไหม้ (Stem blight)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ลักษณะอาการของโรคนี้จะพบว่า มีการทำลายเกิดขึ้นบริเวณโคนต้น ลำต้น กิ่งก้านและใบ ทำให้เกิดแผลรูปกระสวยขอบแผลสีน้ำตาล แผลที่เกิดจะขนานไปกับลำต้น ที่แผลจะมีจุดสีดำเล็กๆ ขึ้นเต็มเนื้อเยื่อ ขอบแผลจะแห้งเป็นสีเทา ต่อมาขนาดของแผลจะขยายเพิ่มขึ้นทำให้ลำต้นไหม้แห้งเป็นทางยาว เมื่อระบาดรุนแรงต้นจะหักตรงรอยแผล ต้นทรุดโทรมทำให้ใบร่วง และต้นแห้งตายในที่สุด
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบายได้ง่าย โดยเชื้อราจะปลิวไปกับลม หรือถูกน้ำชะพัดพาไป โดยเฉพาะในฤดูฝน โรคจะระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง
การป้องกันและกำจัด
- ก่อนย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลง ควรแช่ต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างใดอย่างหนึ่งในกลุ่มต่อไปนี้ คาร์เบนดาชิม เช่น เดอโรซาล เดลซิน 50 บาวีซาน, โปรปีเน็บ เช่น แอนทราโคล, ซิเน็บ + มาเน็บ เช่น เอซินแมก, แมนโคเซ็บ เช่น ไดเทนเอ็ม – 45 การใช้ให้เพิ่มปริมาณสารอีก 1 เท่า จากอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะ แช่นาน 10 นาที แล้วผึ่งกล้าให้แห้งในที่ร่มก่อนนำไปปลูก
- ทำทางระบาย อย่าให้น้ำขังแฉะ และถอนหรือตัดต้นที่เป็นโรค รวมทั้งเศษพืชที่ร่วงหล่นตามพื้นแล้วรวบรวมเผาทำลายให้มด ไม่ควรนำไปกองไว้ข้างแปลง เพราะจะทำให้หน่อที่งอกใหม่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ ในช่วงฤดูฝนถ้าพบว่า มีการระบาดของโรคในแปลงกล้า และแปลงปลูกมาก ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชพวก คาร์เบนดาชิมโปรปีเน็บ ทุก 5 -7 วัน และถ้าการระบาดของโรคลดลงให้ระยะเวลาการพ่นเป็น 10-15 วัน
2. โรคเซอร์คอสปอร์ร่า ไบลท์ หรือลีฟ พร้านซ์เซ็ทสปอท (โรคใบเทียมร่วง) (Cercospora blightor Leaf branchlet spot) โรคเซอร์คอสปอร์ร่า ไบลท์ หรือลีฟ พร้านซ์เซ็ทสปอท (โรคใบเทียมร่วง) (Cercospora blightor Leaf branchlet spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดพร้อมกับโรคลำต้นไหม้ในฤดูฝน โดยจะมีแผลสีม่วงอมน้ำตาล หรือ สีม่วงแดงเป็นจุดค่อนข้างกลมตรงกลางมีสีเทาขอบแผลไม่สม่ำเสมอ ขนาดของแผลเป็นจุดไม่แน่นอนแผลจะมีมากตามใบเทียมที่เจริญเต็มที่แล้ว ทำให้ใบแห้งเหลืองร่วงหล่น ต้นที่เป็นโรคระบาดรุนแรงกิ่งจะแห้งและตายในที่สุด
การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาตไปกับลมหรือติดไปกับละอองน้ำ
การป้องกันและกำจัด จะทำความเสียหายมากขึ้น ในสภาพอากาศที่มีความขึ้นสูง
- ก่อนปลูกควรแช่ต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มดังต่อไปนี้ คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ เช่น คูปร๊อก คูปราวิท, คาร์เบนดาชิม เช่น บาวีซาน เบ็นท๊อกซ์ เบนเลท 75 ชี, มาเน็บ เช่น ทวินมาเน็บ, เบนโนบิล เช่น เบนเลท ฟันดาโซล 50 โดยเพิ่มปริมาณสารอีก 1 เท่า จากอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะนาน 10 นาที แล้วผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก
- หมั่นตรวจดูแปลงให้สะอาดเสมอ บำรุงต้นให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดเวลา เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
- ควรถอนหรือตัดันที่เป็นโรคทิ้ง แล้วเผาทำลายให้หมด ไม่ควรนำไปวางกองสุมไว้ในแปลงเพราะจะทำให้หน่อที่งอกใหม่ถูกเชื้อโรคทำลายได้
- ถ้ามีการระบาดของโรคให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชพวกคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์คาร์เบนดาชิม มาเน็บ และเบนโนมิล อัตราส่วนตามคำแนะนำข้างภาชนะ การปฏิบัติเช่นเดียวกับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้
เอกสารอ้างอิง
- กรมส่งเสริมการเกษตร. 2530. คำแนะนำที่ 60 การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง
- กรมส่งเสริมการเกษตร. 2531. โรคหน่อไม้ฝรั่งและการป้องกันกำจัด
- กรมส่งเสริมการเกษตร. 2531. คำแนะนำที่ 132 ศัตรูแอสพารากัส