วีดีโอไอเดียเกษตร » เกษตรผสมสาน ในพื้นที่ 12 ไร่ จากพื้นที่ว่างเปล่ากลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์

เกษตรผสมสาน ในพื้นที่ 12 ไร่ จากพื้นที่ว่างเปล่ากลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์

15 สิงหาคม 2023
371   0

เกษตรผสมสาน ในพื้นที่ 12 ไร่ จากพื้นที่ว่างเปล่ากลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ By คุณอุดมศักดิ์ ทองดี (คุณเอก)

 เกษตรผสมสาน


หนุ่มปริญญาโท วัย 42 ปี ทำเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่ 12 ไร่

  • ขอบคุณ คุณอุดมศักดิ์ ทองดี (คุณเอก) สอบถามเพิ่มเติม : 087-9109783
  • สถานที่ถ่ายทำ : บ้านเหล่าติ้ว ตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

***ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/Tassapong​​​​​​ เพจ : ทัส ไทยบ้าน


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เกษตรผสมสาน

เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในทางตรงกันข้าม ผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน

หลักการของ ” เกษตรผสมผสาน “

หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการสำคัญๆ คือ

  • ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันได้
  • การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศ และพลังงาน เช่น การหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับพืช และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยที่กระบวนการใช้ประโยชน์จะเป็นไปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผ่านการหมักของจุลินทรีย์เสียก่อน

ทั้งนี้ ลักษณะการผสมผสานในระบบเกษตร สามารถแบ่งออกได้ เช่น

การปลูกพืชแบบผสมผสาน เป็นการอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างพืช สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศตามธรรมชาติมาจัดการและปรับใช้ในระบบการเกษตร ตัวอย่างเช่น การปลูกตาลโตนด์ในนาข้าว การปลูกพริกไทยร่วมกับมะพร้าว การปลูกพืชไร่ผสมกับถั่ว การปลูกทุเรียนร่วมกับสะตอการปลูกระกำในสวนยาง เป็นต้น โดยที่ยิ่งมีความหลากหลายของพืชปลูกมากเท่าใด ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบมากขึ้นเท่านั้น

การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ หลักการผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืชและจุลินทรีย์ ตัวอย่างของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ ช่น การเลี้ยงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ดหรือไก่ ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างระบบที่สมบูรณ์ ได้เหมือนกับการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์

ทำเกษตรผสมผสาน

กิจกรรมที่ควรดำเนินการ ในการทำ “เกษตรผสมผสาน” โดยปลูกพืชผักผสมผสานหลายชนิดในพื้นที่เดียวกันต่อไปนี้เป็นแบบอย่างกับเกษตรกรได้ โดยจัดพื้นที่แปลงเกษตรให้เหมาะสมในพื้นที่ที่จำกัด เช่นพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน แบ่งดังนี้

  • จัดเป็นที่อยู่อาศัย (ปลูกบ้าน, คอกสัตว์) ประมาณ 1 ไร่
  • ขุดสระ 3 บ่อ ไว้เก็บน้ำใช้ในการเกษตรช่วงฤดูแล้งและเลี้ยงปลา ประมาณ 2.5 ไร่
  • ปลูกไม้ผล / ไม้ยืนต้นตามคันคูและคันแดนรอบ ประมาณ 1 ไร่
  • เป็นแปลงนาข้าว ประมาณ 1.5 ไร่
  • เป็นแปลงผักถาวร ประมาณ 2 งาน

กิจกรรมในแปลง ดำเนินกิจกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่เอื้อต่อธรรมชาติไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากร ไม่ใช้สารเคมีในการเกษตร ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพเป็นตัวนำทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/ทำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง ทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เผาถ่านสกัดน้ำส้มควันไม้ เพาะเห็ดขอนจากขอนไม้ ปลูกพืชผักปลอดสาร เลี้ยงสัตว์ ซึ่งดำเนินการเกษตร 4 ด้านหลัก ดังนี้

  • ด้านพืช ได้แก่ ทำนาปี เก็บไว้บริโภคในครัวเรือน ใช้สายพันธุ์ท้องถิ่น (อนุรักษ์พันธุกรรม) ปลูกไม้ผล ไว้บริโภคและขายเพิ่มรายได้ เช่น มะม่วง มะพร้าว น้อยหน่า พุทรา ขนุน มะขาม มะขามเทศ ส้มโอ ละมุด ฝรั่ง แก้วมังกร มะยม ทับทิม เป็นต้น
  • ด้านสัตว์ ได้แก่เลี้ยงหมูหลุม ไว้กำจัดขยะ/กำจัดวัชพืช (เศษอาหาร,เศษพืชผัก) ขายเพิ่มรายได้ใช้มูลทำปุ๋ยชีวภาพ / ทำก๊าซชีวภาพหุงต้มในครัวเรือน
  • ด้านประมง ได้แก่ เลี้ยงปลา / กบ ในบ่อดิน บ่อพลาสติก และในนาข้าว ไว้บริโภคเพียงพอในครัวเรือนตลอดทั้งปี และขายเพิ่มรายได้
  • ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ใช้จุลินทรีย์.ในการเกษตร รดหรือฉีดพ่นพืชผัก/ตอซังก่อนไถกลบ กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำห้องส้วม ร่องระบายน้ำ คลอง ป้องกันน้ำเสียในบ่อปลา/กบ/คอกสัตว์/ผสมอาหารให้สัตว์กินในสัดส่วนที่พอเหมาะป้องกันโรค ฯลฯ ทำความสะอาดบริเวณบ้าน จัดภูมิทัศน์ให้ดูดีอยู่เสมอ

ระบบเกษตรผสมผสาน หมายถึง ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน มีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

  • อาศัยหลักการอยู่ร่วมกันระหว่างพืชกับพืช หรือพืชกับสัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม
  • มีการใช้ปัจจัยการผลิต ที่ดิน แรงงาน ทุน และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • รวมถึงการหมุนเวียนนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง เช่น การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้แนวทางการดำเนินงานระบบเกษตร ผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางการประหยัด(ไม่ต้องซื้อ) ตัวอย่างคือ- ปลูกเอง เช่น ปลูกข้าวข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว โหระพา ใบแมงลัก เป็นต้น
  • ผลิตเอง เช่น ทำแชมพู สบู่ น้ำยาล้างจาน ปุยชีวภาพ ใช้เอง เป็นต้น

“ปลูกเอง ผลิตใช้เองในครัวเรือน” “พอกินเหลือขาย” “มีข้าวไว้กินคือภูมิคุ้มกัน”

ที่มา : สํานักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช


บทความที่น่าสนใจ