บทความเกษตร » แนะนำอาชีพ!! เลี้ยงจิ้งหรีด สำหรับมือใหม่เริ่มต้นยังไงดี

แนะนำอาชีพ!! เลี้ยงจิ้งหรีด สำหรับมือใหม่เริ่มต้นยังไงดี

21 มิถุนายน 2023
479   0

แนะนำอาชีพ!! เลี้ยงจิ้งหรีด สำหรับมือใหม่เริ่มต้นยังไงดี

เลี้ยงจิ้งหรีด

เลี้ยงจิ้งหรีด


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจิ้งหรีด

จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่น สามารถทำเสียงได้ จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีดมีหลายชนิด หลายขนาดแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ

ประโยชน์การ เลี้ยงจิ้งหรีด

  • เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพเสริมหรืออาจใช้เป็นอาชีพหลัก
  • เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภคและเป็นแหล่งโปรตีนที่เกิดจากสัตว์
  • เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขภาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
  • เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ เป็น ปลา และอื่น ๆ
  • ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป้อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)
  • ใช้เพื่อเป็นเหยื่อตกปลาเพื่อการกีฬา เช่น ใช้เป็นเหยื่อตกปลา

ชนิดของจิ้งหรีด

จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทยนั้นอย่างแพร่หลายมี 4 ชนิด คือ

จิ้งหรีดทองดำ

  • จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus De Geer) จิ้งหรีดขนาดกลาง รูปร่างสั้น หัวกลม หนวดยาว ลำตัวกว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยาว 3 เชนติเมตร ลำตัวสีดำ ขาดำ มีจุดสีเหลืองบริเวณโคน ปีก 2 จุด เหมาะที่จะเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากสีดำเมื่อปรุงอาหารจะดำไม่น่ารับประทาน
    จิ้งหรีดทองแดง
  • จิ้งหรีดทองแดง (Gryllus testaceus walker) จิ้งหรีดขนาดกลาง มีขนาดเท่ากับพันธุ์ทองดำ ขนาดลำตัวยาว 0.25 – 0.35 เชนติเมตร ลักษณะเด่น หัว ลำตัว ขามีสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลเหลืองทองเหมาะที่จะเป็นอาหารของคน เมื่อทอดจะมีสีเหลืองทองน่ารับประทาน
  • จิ้งหรีดจิ้งหรีดทองแดงลาย จิ้งหรีดขาว จิ้งหรีดบ้าน แมงสะดิ้ง จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด (Acheta domesticus (Linnaeus))  จิ้งหรีดขนาดเล็กที่สุด ลำตัวสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดทองแดง แต่ขนาดเล็กกว่า ตัวเมียมีปีกคู่ หน้าสั้นครึ่งลำตัว ไม่ชอบบิน เคลื่อนไหวไม่เร็วเท่าจิ้งหรีดชนิดอื่น ลำตัวกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 2.05 เซนติเมตร นิยมเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของคนเช่นกัน แม้เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดเล็ก แตให้ไข่เยอะจึงมีความมันกว่าจิ้งหรีดชนิดอื่น
    เลี้ยงจิ้งหรีด
  • จิ้งโกร่ง หรือ จิโปม หรือ จี่โป่ง (Brachytrupes portentosus Lichtenstein) เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ ลักษณะคล้ายจิ้งหรีด มีขนาดใหญ่ อ้วน สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 3.5 – 4.5 เชนติเมตร ชอบอยู่ในรู หนวดยาว หัวกลมใหญ่ ปากแบบกัดกิน ปีกมีลายเส้นเล็กน้อย นิยมเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของคน เนื่องจากมีตัวขนาดใหญ่กว่าจิ้งหรีด รสชาติอร่อย น่ารับประทาน

วงจรชีวิตของจิ้งหรีด

         วงจรชีวิตของจิ้งหรีดโดยภาพรวมจะประกอบด้วย จิ้งหรีดระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และวางไข่ มีอายุตลอดช่วงชีวิตอยู่ที่ประมาณ 90-120 วัน โดยจิ้งหรีดแต่ละระยะจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันไป

1.ระยะไข่

        ไข่จิ้งหรีดมีสีเหลือง ยาวเรียวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ความยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร สามารถวางไข่ได้ 600 -1,000 ฟอง โดยวางไข่เป็นรุ่น รุ่นละ 200 – 300 ฟอง แต่ละรุ่นให่างกันประมาณ 15 วัน

2.ระยะตัวอ่อน

        หลังจากวางไข่ 3 สัปดาห์ ลูกจิ้งหรีดจะฟักออกจากไข่ ตัวอ่อน จะคล้ายมด ไม่มีปีก ลอกคราบประมาณ 8 ครั้ง จึงจะเป็นตัวเต็มวัย ตัวอ่อน เมื่อโตขึ้นเริ่มมีปีกเรียกว่า ระยะใส่เสื้อกั๊ก

3.ระยะตัวเต็มวัย

เป็นระยะที่สามารถแยกเพศได้ชัดเจน คือ

  • เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น มีหนาม ทำให้เกิดเสียงได้ โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกัน ตัวจะเล็กกว่าเพศเมีย
  • เพศเมีย ปีกคู่หน้าเรียบ มีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง

4.ระยะผสมพันธุ์

จิ้งหรีดผสมพันธุ์ หลังลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย 3-4 วัน

  • เพศผู้ ขยับปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียง
  • เพศเมีย จะขึ้นคร่อมหลังตัวผู้ระยะเวลาผสมพันธุ์ประมาณ 10-15 นาที เมื่อหมดการวางไข่ร่นสดท้ายตัวเมียจะตาย

5.ระยะวางไข่

จิ้งหรีดเพศเมีย จะวางไข่ 3-4 วัน หลังผสมใช้อวัยวะวางไข่ที่ยาวแหลมคล้ายเข็มแทงลงในดินเพื่อวางไข่

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

จิ้งหรีด เป็นแมลงกินได้ที่มีคุณค่าสารโภชนาการสูง ได้แก่ โปรตีน 12.9 กรัม ไขมัน 5.5 กรัม แคลเซียม 75.8 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 9.5 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

วัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด

อุปกรณ์การเลี้ยง บ่อเลี้ยงจิ้งหรีด บ่อเลี้ยงจิ้งหรีดควรทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ง่ายต่อการบำรุงรักษาและทำความ สะอาด บ่อเลี้ยงมีหลายรูปแบบ ได้แก่ บ่อปูนซีเมนต์ทรงกลม บ่อกล่องไม้อัดสี่เหลี่ยมหรือกระเบื้อง สมาร์ทบอร์ด บ่อปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ หรือ บ่อพลาสติกที่มีขนาดเบา และสามารถเคลื่อน ย้ายได้ บ่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ บ่อปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยม
เลี้ยงจิ้งหรีด

  • บ่อปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยม มีหลากหลายขนาด โดยทั่วไปที่มีขนาดกว้าง 1.6 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 60 เซนติเมตร หรือถ้าใช้อิฐบล็อกที่มีขนาด 30 เซนติเมตร ส่วนของความกว้างของบ่อใช้ ก้อนอิฐบล็อก 4 ก้อน ความยาวใช้ก้อนอิฐบล็อก 10 ก้อน และ ความสูงใช้ก้อนอิฐบล็อก 3 ก้อน บ่อ ขนาดนี้ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดโดยใส่ขันไข่จิ้งหรีดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16-20 เซนติเมตร จำนวน 20-30 ขัน/ บ่อ จะได้ผลผลิตจิ้งหรีดทองดำประมาณ 25-30 กิโลกรัม หรือจิ้งหรีดบ้านประมาณ 40-500 กิโลกรัม ข้อดี มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้หลายปี ง่ายต่อการจัดการ เช่น การทำความ สะอาด การให้น้ำให้อาหาร สามารถเลี้ยงได้ผลผลิตต่อบ่อสูง ข้อเสีย ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
  • บ่อเลี้ยงจิ้งหรีดแบบกล่อง ใช้ไม้อัด หรือกระเบื้องสมาร์ทบอร์ด เป็นวัสดุหลักในการ สร้างกล่องเลี้ยงจิ้งหรีด ขนาดที่นิยมใช้มีความกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 60 เชนติเมตร และ มีขาสูง 15-20 เซนติเมตร หล่อน้ำ หรือน้ำมันเครื่องที่ขากันมด ใส่ชันไข่ประมาณ 15 ขัน/บ่อ จะได้ จิ้งหรีดทองดำประมาณ 20-25 กิโลกรัม และจิ้งหรีดบ้านประมาณ 30-35 กิโลกรัม ข้อดี มีความแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้หลายปี ต้นทุนไม่สูงมาก ป้องกันมดได้ดี และสามารถ เคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆได้ตามต้องการ ข้อเสีย ต้องคอยดูแลรักษามากกว่าบ่อปูน
  • บ่อพลาสติก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ใส่ขันไข่จิ้งหรีด 3-4 ขัน/บ่อ ได้ ผลผลิตจิ้งหรีดประมาณ 3-5 กิโลกรัม ข้อดี ง่ายต่อการจัดการ เช่น การทำความสะอาด การให้น้ำให้อาหาร และการเคลื่อนย้าย ข้อเสีย ไม่ทนทานเท่าบ่อปูนซีเมนต์ ภาชนะให้อาหารและน้ำ ใช้ภาชนะให้อาหารและน้ำที่สะอาดเหมาะสมกับจำนวนและอายุของจิ้งหรีด ต้องไม่ชำรุด และไม่ทำจากวัสดุที่เป็นอันตรายต่อจิ้งหรีด ภาชนะที่ให้อาหารนิยมใช้ถาดพลาสติกสี่เหลี่ยม หรือ วงกลมซึ่งควรเป็นแบบขอบเตี้ย เพื่อให้จิ้งหรีดสามารถเข้าถึงอาหารได้ง่าย

ภาชนะให้จิ้งหรีดวางไข่และเก็บไข่ ใช้ภาชนะหรือวัสดุที่ใช้ให้จิ้งหรีดวางไข่และเก็บไข่ที่สะอาดเหมาะสมกับจำนวนของจิ้งหรีด นิยมใช้ขันพลาสติกกลมเป็นภาชนะรองไข่ ขนาดขันไข่เส้นผ่านศูนย์กลาง 16-20 เซนติเมตร ล้างให้ สะอาด และผึ่งให้แห้งก่อนนำมาใช้รองไข่

ขั้นตอนการเตรียมบ่อสำหรับ เลี้ยงจิ้งหรีด

การเตรียมบ่อ ก่อนเริ่มเลี้ยง ทำความสะอาดบ่อ ควรวางไม้ตามแนวยาวและแนวขวางที่พื้นบ่อให้มีความ สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อไว้รองแผงไข่ ไม่ให้มูลจิ้งหรีดสัมผัสกับแผงไข่ ช่วยลดการสะสม เชื้อโรคและยืดอายุการใช้แผงไข่ ขอบบ่อด้านในติดด้วยวัสดุที่ทนทาน ไม่หลุดลอก และง่ายต่อการ ทำความสะอาดเพื่อป้องกันไมให้จิ้งหรีดไต่ออก เช่น แผ่นอลูมิเนียม หรือแผ่นกระเบื้องเรียบ ปากบ่อ ปิดด้วยมุ้งตาช่าย เพื่อป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด เช่น ตุ๊กแก จิ้งจก

เลี้ยงจิ้งหรีด

การเตรียมแผงไข่ แผงไข่ต้องอยู่ในสภาพดี ไม่เปียกชื้น เนื่องจากอาจเกิดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ ถ้าใช้แผงไข่ ใหม่สามารถนำมาใช้เลี้ยงได้ทันที แต่ควรระวังอย่าให้มีแมลงหรือศัตรูอื่นติดมากับแผงไข่สำหรับแผงไข่ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ให้ทำความสะอาด เคาะแผงไข่เพื่อขจัดมูลและเศษอาหาร แล้วทำความ สะอาด ฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับแผงไข่ โดยตากแดด 1-2 วัน หรือ ใช้ความร้อนโดยอบในตู้อบความร้อน ที่อุณหภูมิประมาณ 60-70- องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง

การคัดเลือกพันธุ์จิ้งหรีด

ต้องคัดเลือกใช้พันธุ์จิ้งหรีดที่มีคุณภาพดี แข็งแรง ว่องไว และไม่มีประวัติของการเกิดโรค ควรผสมจิ้งหรีดข้ามบ่อเลี้ยง โดยคัดเลือกจิ้งหรีดตัวที่แข็งแรง มีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือจับจิ้งหรีดจากธรรมชาติมาผสมกับจิ้งหรีดที่เลี้ยงในบ่อเป็นครั้งคราว เพื่อ ป้องกันปัญหาเลือดชิด จดบันทึกแหล่งที่มาของพ่อแม่พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ

การให้อาหาร

  • อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องไม่เสื่อมคุณภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของจิ้งหรีด มีสถานที่หรือห้องเก็บอาหารจิ้งหรีดที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน และการเสื่อมสภาพ ของอาหารจิ้งหรีดได้ อาหารสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด มีแบบสำเร็จรูป ซึ่งทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสูง จึงควรลดต้นทุน ด้วยการให้อาหารจากธรรมชาติ เช่น พืชตระกูลแตง วัชพืช ผักต่างๆ เป็นต้น
  • อาหารใช้ได้ทั้งอาหารสำเร็จรูปสำหรับจิ้งหรีด หรือสำหรับเลี้ยงไก่เนื้อ โดยจิ้งหรีดในระยะ 1-3 สัปดาห์แรกใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 21 เปอร์เซ็นต์และบดให้ละเอียด เนื่องจากอาหารที่มี โปรตีนสูงช่วยให้จิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็ว เมื่อจิ้งหรีดอายุ 35 สัปดาห์ สามารถเปลี่ยนมาให้อาหารที่มี โปรตีนน้อยลง 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งราคาถูกกว่า และสามารถให้พืชเป็นอาหารเสริมเพื่อลดต้นทุนก็ได้
  • การเสริมด้วยพืชผักต่าง ๆ ที่หาได้ตามธรรมชาติหรือปลูกไว้ เช่น ข้าวโพด ใบมันสำปะหลัง หญ้าปากควาย หญ้าชันอากาศ หญ้าแห้วหมู ผักตบชวา ใบกล้วย ใบมะละกอ แตง ฟัก ฟักทอง ผัก ต่าง ๆ

การให้น้ำ

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ชอบกินน้ำมาก ฉะนั้นในบ่อเลี้ยงควรมีน้ำให้จิ้งหรีดกินอยู่ตลอดเวลาน้ำที่ให้ต้องเป็นน้ำที่สะอาด แหล่งน้ำที่ใช้ในฟาร์มต้องไม่ปนเปื้อนจากสิ่งที่เป็นอันตราย

  • การให้น้ำจิ้งหรีดทำได้หลายแบบ เช่น ใช้ท่อพีวีซีผ่าครึ่งปิดหัว-ท้าย ใช้ไม้ไผ่ 1-2 ปล้อง ผ่าครึ่ง ใช้ถาดพลาสติก หรือภาชนะที่ให้น้ำไก่
  • จิ้งหรีดที่อายุน้อย ควรมีผ้าพาดที่ภาชนะให้น้ำเพื่อให้จิ้งหรีดสามารถกินน้ำได้ หมั่นดูแล ทำความสะอาดภาชนะให้น้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
  • ทำความสะอาดภาชนะให้น้ำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเฉพาะผ้า ต้องซักให้สะอาด
  • นอกจากนี้สามารถให้น้ำโดยไม่มีภาชนะรองรับแตใช้การฉีดฝอยพ่นน้ำบนพืชอาหาร

การรองไข่และการเก็บไข่

การเตรียมภาชนะและวัสดุให้จิ้งหรีดวางไข่และการเก็บไข่จิ้งหรีดเพศเมียจะเริ่มวางไข่ภายใน 3-4 วัน หลังจากผสมพันธุ์ สามารถสังเกตได้ง่ายจาก ท้องจิ้งหรีดจะตึงจิ้งหรีดจะกระวนกระวายหาที่วางไข่ จิ้งหรีดเพศเมียจะใช้อวัยวะวางไข่แทงลงไปใน ดินที่มีความชื้นพอประมาณ ไข่มีสีครีม ลักษณะเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ตลอดอายุ จิ้งหรีดเพศเมียสามารถวางไข่ได้ 800-1,600 ฟอง แตกต่างตามชนิดของจิ้งหรีด และมักจะวางไข่ เป็นกลุ่ม ๆ ขั้นตอนการเก็บไข่มีดังนี้

  • ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาชนะและวัสดุที่ใช้รองไข่ เช่น แกลบเผา ขุยมะพร้าว ก่อนนำมาใช้รองไข่
  • ใช้ขันพลาสติกเป็นภาชนะรองไข่ ขนาดขันไข่เส้นผ่านศูนย์กลาง 16-20 เซนติเมตร ล้างให้ สะอาด และผึ่งให้แห้งก่อนนำมาใช้รองไข่
  • วัสดุรองไข่ ใช้แกลบเผา 60 เปอร์เซ็นต์ + ทราย 30 เปอร์เซ็นต์ + ขุยมะพร้าวสับละเอียด 10 เปอร์เซ็นต่ำ นำมาผสมเข้าด้วยกัน หรือสามารถใช้เฉพะแกลบเผาทั้งหมดก็ได้ นำส่วนผสมดังกล่าวมาผสมเข้ากับน้ำพอหมาด ให้มีความชุ่มชื้น (สามารถปั้นเป็นก้อนได้ แล้วเอาใส่ขันให้หนา 2-3 นิ้ว โดยไม่ต้องอัดให้แน่น นอกจากนี้อาจจะใช้ดินสำเร็จรูปที่ทำเป็นการค้าสำหรับให้จิ้งหรีดวางไข่
  • วางภาชนะและวัสดุที่ใช้รองไขในบ่อเลี้ยง 6-8 ชั่วโมง ถ้าวางนานเกินกว่านี้จะทำให้อายุไข่ จิ้งหรีดไม่เท่ากัน

การบ่มไข่จิ้งหรีด

  • การบ่มไข่ควรมีการจัดวางให้เหมาะสม แยกพื้นที่ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการปนเปื้อน มีวัสดุ ปิดเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิด้วย
  • นำขันไข่จิ้งหรีดมาวางเรียงซ้อนให้เหลื่อมกันในบ่อปูนหรือโอ่งดิน ปิดปากบ่อด้วยกระสอบ ป่านเพื่อรักษาความชื้นและใช้พลาสติกหรือฝาปิดโอ่งปิดทับอีกชั้น เพื่อรักษาอุณหภูมิและความร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับบ่มไข่ อยู่ที่ 35-38 องศาเซลเชียส หรือจะนำขันไข่มาเทรวมกันในกระสอบ กระสอบละ 10-15 ขัน แล้วมัดปากกระสอบไว้ นำไปวางบ่มรวมกันในบ่อบ่มไข่
  • เมื่อสังเกตเห็นไข่ตึงและมีสีเหลืองอมน้ำตาล จึงเอาขันไข่ หรือกระสอบไขไปใส่ไว้ในบ่อ เลี้ยงโดยทั่วไปไข่จิ้งหรีดทองดำจะใช้เวลาในการกประมาณ 7-10 วัน จึงจะกออกมาเป็นตัวอ่อน ในฤดูหนาวอาจใช้เวลาบ่มยาวนานกว่านี้ การบ่มไข่เช่นนี้จะช่วยให้ฟักไขได้เร็วขึ้น และฟักออกจากไข่ พร้อมกัน

การป้องกันโรคและศัตรูจิ้งหรีด

สำหรับการเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดไหนเรื่องของโรคนั้นก็จะมีทุกประเภทไม่มากก็น้อยแตกต่างกันออกๆ ไป สำหรับโรคจิ้งหรีดก็เหมือนกัน พอที่จะสรุปโรคที่สำคัญๆ ได้ดังนี้

โรคทางเดินอาหาร
เกิดจากอาหารสกปรก มีเชื้อรา ภาชนะสกปรก
วิธีป้องกัน

  • ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับประชากรจิ้งหรีดในบ่อเลี้ยง
  • เทอาหารและน้ำที่เหลือทิ้ง พร้อมทั้งเศษอาหารที่หล่นอยู่ในบ่อเลี้ยงและที่อยู่จิ้งหรีด ควรถูกเก็บทิ้งเช่นกัน
  • ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารและน้ำให้สะอาดทุกครั้งที่ให้อาหาร

โรคติดเชื้อ อิริโดไวรัส

เกิดอาการรุนแรงในจิ้งหรีด ถึงขั้นตาย แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สัตว์ตระกูลแมลงชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อนี้ได้ เช่น ตั๊กแตน และ แมลงสาบ เป็นต้น แต่ไม่สามารถติดต่อมาสู่คนได้

วิธีป้องกันแก้ไขโรค (ข้อมูลจากสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5 และสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ)

  • ให้ทำลายจิ้งหรีดที่เป็นโรค โดยฝังใต้ดินไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ป้องกันสัตว์อื่นมาขุดคุ้ย แล้วราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือปูนขาว หรือเผาทำลายซาก รวมทั้งอุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อน เช่น ถาดไข่ที่ทำจากกระดาษ ที่ใช้เป็นที่อยู่ของจิ้งหรีดในบ่อเลี้ยง
  • ล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ที่ใข้ในการเลี้ยงจิ้งหรีด เช่น วงบ่อปูน อุปกรณ์การให้อาหาร และน้ำ ที่วางไข่ มุ้งเขียว หลังคา ผนัง พื้น ทางเดิน และบริเวณรอบโรงเรือน โรงเก็บอาหาร และพักโรงเรือน 14 – 21วันก่อนนำจิ้งหรีดชุดใหม่เข้าเลี้ยง
  • ปรับปรุงรูปแบบการสุขาภิบาล การควบคุมป้อกันโรคภายในฟาร์ม ให้ทำรั้วรอบฟาร์ม ปิดประตูฟาร์ม ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม ควบคุมการเข้า-ออกของบุคคล ยานพาหนะ จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะเข้าฟาร์ม มีมาตรการป้องกัน กำจัดสัตว์ที่อาจเป็นพาหนะของโรค เช่น นก หนู แมลงสาบ หรือสัตว์ที่มักจะเข้ามาจับจิ้งหรีดในฟาร์มเป้นอาหาร เช่น นก กิ้งก่า คางคก ซึ่งอาจเป็นสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคได้
  • ปรับปรุงรูปแบบการเลี้ยง เช่น มีการแยกเลี้ยงจิ้งหรีดตามช่วงอายุ มีการแบ่งแยกสัดส่วน พื้นที่การเลี้ยงในโรงเรือนเป็นส่วนๆ หรือใช้ระบบเข้า-ออกพร้อมกัน ในการเลี้ยงเพื่อป้องกันหรือลดการแพร่ระบาดของโรคภายในฟาร์ม
    คัดเลือกจิ้งหรีดที่จะนำมาทำพันธุ์ ต้องมาจากฟาร์มที่ปลอดโรค หรือทำการคัดเลือกสายพันธุ์จิ้งหรีด ที่มีความต้านทานต่อโรคมาเลี้ยงในฟาร์ม
  • ควรเปลี่ยนสายพันธุ์จิ้งหรีดที่ใช้ทำพ่อแม่พันธุ์ ในทุกๆ 1 ถึง 3 รุ่น เพื่อป้องกันการเกิดสายเลือดชิด ซึ่งจะทำให้จิ้งหรีดไม่อ่อนแอ และไม่ติดเชื้อโรคได้ง่าย ตัวไม่เล็ก

ช่องทางการจำหน่ายจิ้งหรีด

การจำหน่ายจิ้งหรีด มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และกลุ่มผู้บริโภค โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • จิ้งหรีดมีชีวิต กลุ่มผู้บริโภคคือ ผู้เลี้ยงสัตว์สวยงาม เช่น ปลาสวยงาม
  • จิ้งหรีดแช่แข็ง ตลาดค่อนข้างหลากหลาย ทั้งผู้บริโภครายย่อย และอุตสาหกรรม เนื่องจาก จิ้งหรีดแช่แข็งเป็นวิธีการถนอมอาหารเพื่อรอการแปรรูป
  • จิ้งหรีดทอดกรอบ เป็นการแปรรูปจิ้งหรีด และเพิ่มมูลค่าจิ้งหรีดที่ง่าย และต้นทุนต่ำ สามารถทำเป็นรสต่างๆ เช่น โนริสาหร่าย ปาริก้า หรือสมุนไพร ฯลฯ

บทความที่น่าสนใจ