การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ เลี้ยงง่ายโตไว เหมาะสำหรับมือใหม่
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
ปลาดุก เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงคงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ นั้นสามารถทำได้ง่ายๆเพียงมีบริเวณสักนิดหน่อยก็สามารถเลี้ยงปลาเอาไว้บริ โภคเองในครอบครัวหรืออาจส่งขายตลาดด้วยก็ได้ ด้วยราคาต่อกิโลที่ก่อนข้างสูงและขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากทำให้มีหลายๆ คนสนใจการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์กันมากขึ้น
ขั้นตอนการเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงปลาดุก
สำหรับขั้นตอนในการเตรียมบ่อนั้น เริ่มจากการเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม หรือตามความสะดวกของแต่ล่ะท่าน เพราะพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป จากนั้นก็ทำการสร้างบ่อได้เลย จะบ่อเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ และเมื่อสร้างบ่อเสร็จก็ให้ทำการแช่บ่อไว้ก่อน ด้วยการใช้ต้นกล้วยที่หาได้ตามพื้นที่ทั่วไป กรณีที่เป็นบ่อใหม่ ให้นำมาแช่ไว้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วล้างทำความสะอาดบ่อ
หลังจากนั้นให้เราเติมน้ำลงในบ่อแล้วนำพืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ มาปลูกในบ่อ ท้องไว้ประมาณ 2-3 วันก็สามารถนำปลาดุกมาปล่อยไ่ด้
อัตราการปล่อยปลาดุก
- เลือกลูกปลาขนาดความยาว 5 -7 ซม. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงนั้นไม่มีสูตรตายตัวครับ ขึ้นอยู่ขนาดของปลาและขนาดของบ่อซีเมนต์ ตัวอย่าง บ่อซีเมนต์วงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ปล่อยประมาณ 80 – 100 ตัว ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 – 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
- การปล่อยลูกปลา ควรแช่ถุงที่มีลูกปลาไว้ในน้ำใหม่สัก 30 นาที ครั้งแรกที่เริ่มปล่อยลูกปลากวรให้น้ำในบ่อสูงสักประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วสัปดาห์ต่อาไปจึงค่อยๆเติมน้ำจนถึงระดับ 30-50 เซนติเมตร
- ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 5 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่งและ ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด
การถ่ายน้ำสำหรับบ่อเลี้ยง
สำหรับการเปลี้ยนถ่ายน้ำบ่อเลี้ยงเมื่อเริ่มเลี้ยงระดับน้ำลึกประมาณ 10 – 15 ซม. ให้เพิ่มระดับน้ำเข้าไปอีกอีก 5 – 10 ซม. เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 10 – 15 วันระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 40 ซม. ให้เราถ่ายเทน้ำออกทุก 5 -7 วัน โดยถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ให้ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ และขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาคุกตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน
อาหารและการให้อาหาร
- อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
- ปล่อยปลาขนาด 5-7 ซม. ให้อาหารปลาดุกเล็ก
- ปลาขนาด 7 ซม. ขึ้นไป ให้อาหารปลาดุกรุ่น
- อาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเป็ดผสมรำละเอียด อัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่นอาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เพราะอาจจะทำให้น้ำเสียไวกว่าปรกติ
สูตรอาหารปลาดุกแบบลดต้นทุน
สูตรที่ 1 (วิศวกรชาวนา แห่งอาศรมคนภูไท)
ส่วนประกอบ
- กากถั่วเหลือง (โปรตีน 46%) 1.5-2 กก.
- ปลาป่น (โปรตีน 40%) 2-3 ขีด
- รำละเอียด (โปรตีน 12%) 1 กก.
- ปลายข้าวหรือข้าวบดต้มสุก (โปรตีน 8%) 2 ขีดก่อนนำมาต้ม
- น้ำมันปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- ใบกระถิ่นหรือใบหม่อนแห้งป่นหรือสับละเอียด (โปรตีน 24%)(ถ้ามี) 1 ขีด
วิธีทำ
นำวัสถุดิบทุกอย่างมาผสมให้เข้ากัน โดยให้อาหารสามารถปั้นเป็นก้อนได้โดยใช้น้ำเปล่ามาผสมแต่อย่าใส่น้ำเยอะจนเปียกเกินไปจะปั้นไม่ได้ แล้วน้ำไปให้ปลาดุกกิน เช้า-เย็น หรือจะอัดเม็ดหรือปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำไปให้ก็ได้ วัตถุดิบและอาหารสามารถเก็บไว้ได้ 3 เดือน ครับ
สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เพจ วิศวกรชาวนา แห่งอาศรมคนภูไท
สูตรที่ 2 สำหรับการทำอาหารปลาดุกมีส่วนผสมดังนี้
ส่วนประกอบ
- รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
- กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
- ปลาป่น 6 กิโลกรัม
- กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
- น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร
ขั้นตอนวิธีทำ
- นำส่วนผสมข้อ 1 จำนวน 1 กระสอบ และส่วนผสมในข้อ 2,3,4 มาทำการคลุกให้เข้ากัน
- นำส่วนผสมในข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสมในข้อ 1 ทำการหมักไว้ 12 ชั่วโมง
- นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบที่เหลือ และน้ำมันพืช 1-2 ลิตร คลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน
ปลาดุกที่เลี้ยงจะเริ่มทยอยจับได้ตั้งแต่ปลาอายุ 8-10 เดือน ซึ่งจะมีขนาด 6-10 ตัว/กก. แต่ยังมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สีสัน ภายนอกจะดูดีสู้ปลาจากธรรมชาติไม่ได้ แต่เมื่อนำมาบริโภครสชาติจะไม่ต่างกัน เนื้อปลาเมื่อสุก แล้วจะดูนิ่มและเหลืองน่ารับประทาน
บทความที่น่าสนใจ