บทความเกษตร » อาชีพแนะนำ เลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นยังไงดี

อาชีพแนะนำ เลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นยังไงดี

25 พฤษภาคม 2023
370   0

อาชีพแนะนำ เลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นยังไงดี

เลี้ยงแพะมือใหม่

เลี้ยงแพะมือใหม่


แพะ สัตว์ที่หลายคนคิดว่ากลิ่นเหม็นสาบ สกปรก ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยง ใครจะคิดบ้างว่า แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้เลี้ยงทดแทนโค – กระบือ และ ยังมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากอีกด้วย ข้อดี-ข้อเสียของการเลี้ยงแพะมีดังนี้

ข้อดีของการเลี้ยงแพะ

  1. เลี้ยงแพะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าเลี้ยงวัว จึงให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่า
  2. หากินเก่ง กินพืชใบไม้ได้หลายชนิด จึงทำให้ประหยัดต้นทุนด้านอาหาร
  3. แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ
  4. ขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย
  5. ให้ผลผลิตเนื้อ นม หนัง ขน ได้แถบทุกส่วน

สายพันธุ์ของแพะที่นิยมเลี้ยงมีอะไรบ้าง?

สามารถแบ่งตามสายพันธุ์แพะที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย เป็น 2 ประเภทคือพันธุ์แพะที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและพันธุ์แพะพื้นเมือง(กรมปศุสัตว์,2549) โดยแพะที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมีดังนี้

เลี้ยงแพะมือใหม่

แพะพันธุ์บอร์ (Boer)

        ปัจจุบันประเทศไทยนิยมเลี้ยงแพะพันธุ์นี้เป็นจำนวนมากที่สุดเพราะเป็นแพะเนื้อที่มีขนาดรูปร่างใหญ่ ล่ำสัน มีลำตัวใหญ่ยาวแล่ะกว้าง มีกล้ามเนื้อมากและมีลักษณะของกระดูกโครงร่างใหญ่แข็งแรงเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ลักษณะสีลำตัวเป็นสีขาวมีสีน้ำตาล – แดงที่หัวและคอโหนกนูน ตั้งจมูกโด่งและงุ้มลง เขาเอนไปด้านหลังและงอโค้งลง ใบหูยาวและห้อยลงมีเคราแต่มีติ่ง (Wattle) ที่ใต้คอ

พันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal)

        ส่วนมากลำตัวมีสีดำสนิท ซึ่งพบเป็นส่วนมากในแพะพันธุ์นี้แต่อาจจะพบสีอื่นได้บ้างคือ สีขาวสีน้ำตาล สีขาวปนดำหรือสีน้ำตาลปนดำ ลักษณะขนสั้นเป็นมันเงา ตั้งจมูกลาดตรง หน้าเล็กสั้น มีเขาและมีเคราทั้งตัวผู้และตัวเมีย ใบหูมีขนาดเล็กสั้น แพะพันธุ์นี้มีการให้ลูกแฝดสองสูงมากบางครั้งอาจได้ลูกแฝดถึงสี่ตัว

เลี้ยงแพะมือใหม่

พันธุ์ชาเนน (Sanen)

        แพะพันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำนมสูงมากจนได้รับฉายาว่าเป็นราชินีแห่งแพะนม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสีขาวแต่บางตัวอาจจะเป็นสีครีมหรือสีเทามีติ่งใต้คอ 2 ตึ่ง หรืออาจจะไม่มีตึ่ง แต่การมีติ่งถือเป็นลักษณะดีที่พึ่งประสงค์ ใบหูสั้นตั้งตรงชี้ไปข้างหน้า หัวมีลักษณะแบน ตั้งจมูกลาดตรงเรียวยาว แนวสันหลังตรงขนานไปกับพื้น แม่แพะพันธุ์ซาเนนนี้มีอัตราของการคลอดลูกแฝดที่ค่อนข้างสูง

พันธุ์แองโกลนูเบียน

พันธุ์แองโกลนูเบียน (AngloNubian)

        ลำตัวมีสีหลายสีตั้งแต่สีดำน้ำตาลเทาและสีขาว ลักษณะทั่วไปเป็นแพะขนาดใหญ่ลำตัวยาวและกว้างเมื่อโตเต็ม ลักษณะหัวโหนกนูน ใบหูใหญ่ยาวและห้อยตกลง ตั้งจมูกโด่งและสันจมูกโค้งงุ้ม ไม่มีติ่ง (Wattle) ใต้คอ ตัวผู้มักมีเคราแต่ตัวเมียไม่มี เขาจะมีลักษณะสั้นเอนแนบติดกับหลังหัวแพะพันธุ์นี้ให้น้ำนมเฉลี่ยประมาณวันละ 1 กิโลกรัมแม่แพะมีอัตราของการคลอดลูกแฝดสูง ข้อดีของแพะพันธุ์นี้คือมีขนที่สั้นและนุ่มละเอียดเป็นมันจึงสามารถทนทานและสามารถปรับตัวในสภาพอากาศร้อนได้ดี

พันธุ์ทอกเก็นเบิร์น (Toggenberg)

        แพะนมพันธุ์ที่มีรูปร่างขนาดกลาง มีความสูงที่วัดจากหัวไหล่ 60-75 เซนติเมตร เพศผู้มีน้ำหนัก ประมาณ 60 กิโลกรัม และเพศเมียหนักประมาณ 45 กิโลกรัม หัวมีลักษณะแบน ตั้งจมูกลาดตรง ไม่มีเครา ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมียมีติ่งใต้คอ ขนสั้นมีต้หลากหลายสีตั้งแต่น้ำตาล น้ำตาลแก่เทา แกมเหลือง มีสีขาวแชมที่ดั้งจมูกขอบใบหูปลายขาทั้ง 4 ข้าง และหาง ใบหูมีลักษณะที่สั้นแต่ตั้งชันและชี้ไปข้างหน้า

แพะพื้นเมือง (Native goats)

        แพะพันธุ์พื้นเมือง เป็นแพะที่มีขนาดเล็ก มีการเลี้ยงและขยายพันธุ์กันอย่างแพร่หลายในแถบชนบทในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะสีของลำตัวแพะ มีหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง แดง น้ำตาลแดงน้ำตาลเข้ม ดำ หรืออาจมีลักษณะแบบสีผสม เช่น ขาวน้ำตาล ขาวดำ น้ำตาลตำ อาจพบลำตัวแพะมีลายจุดเป็นวง เป็นแต้ม หรือมีลายกระต่างกระดำ

รูปแบบวิธีการเลี้ยงมีกี่แบบ?

การเลี้ยงแพะแบบผูกล่าม

        การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผู้กล่ามแพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในคอก

การเลี้ยงแพะแบบปล่อย 

การเลี้ยงแพะแบบปล่อย 

        การเลี้ยงแบบปล่อยนี้มักจะปล่อยแพะให้ออกหากินอาหารเองในเวลากลางวันโดยปกติมักปล่อยแพะหากินอาหาร ตอนสายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหากินอาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หากพื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

การเลี้ยงแพะแบบขังคอก

การเลี้ยงแพะแบบขังคอก

       การเลี้ยงแบบนี้จะต้องมีการสร้างโรงเรือนเพื่อขังแพะไว้ในคอก แพะไม่สามารถออกจากพื้นที่เพื่อหาอาหารกินเองได้ ซึ่งจะมีปลูกหญ้าสำหรับแพะหรือตัดหญ้าให้แพะกินบ้าง ในคอกควรมีน้ำและอาหารข้น ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้จะใช้เงินลงทุนสูง

การเลี้ยงแพะแบบปล่อย 

การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช

       การเลี้ยงแบบนี้ ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้ จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลุกมะพร้าว ในภาคใต้ โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เราไม่ต้องออกแรงการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว

อาหารเลี้ยงแพะ แพะกินอะไรบ้าง?

      อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแพะ บางคนคิดว่าแพะเลี้ยงง่ายกินกระถินหรือปล่อยให้หากินใบไม้ กินหญ้าริมทางก็โตแล้ว ความคิดถูกเพียงครึ่งเดียวครับ จากการวัดการเจริญเติบโตงานวิจัยหลายที่ จะได้ผลเฉพาะหน้าฝนที่มีหญ้า หรือกระถินอุดมสมบูรณ์แต่ในหน้าแล้งบางช่วงแพะน้ำหนักลด ยกเว้นภาคใต้ฝนตกตลอดปี แต่ฝนตกมากๆแพะก็ออกไปกินหญ้าไม่ได้  ซึ่งสำหรับอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงแพะนั้นหลักๆ แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

  • อาหารหยาบ (Roughages)
  • อาหารข้น (Concentrate)
  • อาหารผสมสำเร็จ (Total Mixed Ration)

อาหารเลี้ยงแพะ

อาหารหยาบ จำพวกหญ้าหรือพืชผัก พืชตระกูลหญ้า เป็นพวกที่มีลำต้นและใบอ่อนนิ่ม ต้นไม่โตนักเช่น ต้นกระถิ่น หญ้าขน เนเปียร์ รูซี่ แพงโกลา เฮมิล หรือหญ้าต่างๆ เป็นต้น

พืชตระกูลถั่ว ทั้งถั่วกอตั้งและถั่วต้นเลื้อยและไม้ยืนต้นกระกูลถั่ว เช่นถั่วลายถั่วฮามาต้า กระดินและแคไทย ส่วนไม้พุ่มและไม้อื่น ๆ เช่น มันสำปะหลัง กล้วย ต้นหม่อนไทย พุทธรักษา ชบาพู่ระหง และผักต่าง ๆ นอกจากนี้แพะยังชอบกินใบทองหลาง มะขามเทศ โสน และเถามันเทศ ฯลฯ

พืชแห้งหรือพืชหมัก โดยปกติแล้วไม่นิยมให้แพะกินอาหารพืชหมัก เนื่องจากมีน้ำปนอยู่มากถึง 65-70% ถ้าให้แพะกินพืชหมัก 1.25-1.5 กิโลกรัมเท่ากับกินหญ้าแห้ง 0.5 กิโลกรัม จึงจะแทนกันได้แพะที่โตเต็มที่จะกินพืชหมักได้มากที่สุดวันละ 0.75-1 กิโลกรัม ข้อควรระวังอย่าให้อาหารพืชหมักเลี้ยงลูกแพะ เพราะจะทำให้แพะท้องเสีย รอจนกระทั่งอวัยวะระบบย่อยอาหารสามารถทำงานได้เต็มที่แล้วจึงจะกินได้

อาหารข้น (Concentrate) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เยื่อใยต่ำ แพะสามารถย่อยและนำไปใช้ประโยชน์ได้สูง ได้จากเมล็ดธัญพืช และผลพลอยได้จากโรงงานต่างๆ ใช้เสริมกับอาหารหยาบเพื่อให้แพะสุขภาพสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตทั้งการให้เนื้อ หรือการให้น้ำนมสูงขึ้น

ช่องทางการจำหน่ายแพะ

การซื้อ-ขาย แพะ ในปัจจุบัน

  • จำหน่ายขนาดอายุ3 เดือน ขึ้นไป หรือ น้ำหนัก 20 กก. ขึ้นไป
  • เพศผู้ คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 50-60 บาท
  • เพศเมีย คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 100-120 บาท
  • เพศเมียคัดทิ้ง คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 50-60 บาท
  • จำหน่ายในรูปแพะสดส่งแพะจำหน่ายยังตลาดเพื่อบริโภคเนื้อ
  • จำหน่ายในรูปพร้อมรับประทานทำอาหาร

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่เริ่มอยากเลี้ยงแพะ นั้นก็จะต้องหมั่นศึกษาหาข้อมูลการเลี้ยงให้ดี เพราะเดี๋ยวนี้แหล่งเรียนรู้มีด้วยกันหลายที่ ตามสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เมื่อตัดสินใจได้แล้วก็ลองเลือกว่าเราเหมาะสมกับแพะสายพันธุ์ไหน แล้วก็ทำเริ่มการเลี้ยงอาจจะจากน้อยตัวไปหามากก็ได้ครับ

ขอบคุณที่มา : saeakaset.com