บทความเกษตร » แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง

แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง

15 กันยายน 2023
320   0

แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาตัวเองได้ ให้มีความเพียงพอกับตัวเองอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือนร้อน โดยต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีก่อน คือ ตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ไม่มุ่งหวังจะทุ่มเท สร้างความเจริญยกเศรยฐกิจให้รวดเร็วแค่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอจะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้งความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจสูงขึ้นไปตามลำดับต่อไปได้

แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั้นเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท ของการดำเนินชีวิต โคยคำนึงถึง ความพอประมาณ และเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความอดทน และคุณธรรม ในการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ ซึ่งสรุปรวมให้เห็นภาพพอประมาณ ได้ดังนี้

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมาขถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านมาพิจารณาให้เชื่อมโขงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง ความตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ อดทน และมีความเพียรในการใช้สติปัญญาในการคำเนินชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียง

วิถีการใช้ชีววิตแบบ เศรษฐกิจพอเพียง

วิถีชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัยพื้นฐานความพร้อมด้านต่างๆ สังคมและสิ่งรอบข้าง แต่ทุกคนยังมีความต้องการที่ประสบความสำเร็จในชีวิต  ด้านต่างๆ ตามแต่โอกาสที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ การสร้างรายได้ การใช้ประโชชน์จากทรัพยากร ซึ่งแนวทางในการดำรงชีวิตนั้นให้ยึดหลังในทางสายกลางที่สมดุล คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรู้และมีคุณธรรม ที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆดังกล่าว โดยสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้ตามลำดับดังนี้

  • ค้นหาความต้องการของตนเอง ว่ามีความต้องการอะไร มีเป้าหมายในการดำเนิน ชีวิตอย่างไร เช่น ต้องการมีชีวิตที่มั่นคง ก้าวหน้า มีความอิสระ มีเวลาสำหรับครอบครัวและสังคม มีความสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
  • วิเคราะห์ข้อมูลตนเองและครอบครัว จะทำให้รู้สถานภาพของตนเอง ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งค้านเสรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติ เช่น ความรู้ความสามารถ รายได้ รายจ่าย การออม และคุณธรรม วิถีการดำรงชีวิต สภาวะเศรษฐกิจ ทัศนคติ วัฒนธรรม ฐานะทางสังคม ฐานะทางการเงิน และคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว
  • วางแผนในการดำเนินชีวิต สำหรับการว่างแผนในการดำรงชีวิตนั้นก็จะมีองค์ประกอบที่แยกย่อยออกไป เพื่อใช้ในการพัฒนาและออกแบบชีวิตได้ ดังนี้
    • พัฒนาตนเอง ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    • สร้างนิสัยที่มีความคิดก้าวหน้า มุ่งมั่นในเป้าหมายชีวิต หมั่นพิจารณาความคิด ตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นระบบโดยใช้ความรู้ สร้างวินัยทางการเงิน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและครอบครัว
    • เสริมสร้างและฟื้นฟูความรู้และคุณธรรมของตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งปรับทัศนคติในเชิงบวก และมีความเป็นไปได้
    • ควบคุมจิตใจให้ตนเองประพฤติในสิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์ พัฒนาจิตใจให้ ลด ละ เลิก อบายมุข กิเลส ตัณหา
  • จดบันทึกและทำบัญชีรับ – จ่าย
  • สรุปผลการพัฒนาตนเองและครอบครัว โดยพิจารณา สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง อารมณ์ มีเหตุผล ความเชื่อมั่น มีระบบคิดเป็นขั้นเป็นตอน มีแรงจูงใจกล้าคิดกล้าทำ ไม่ท้อถอยหรือขาดกำลังใจ เมื่อประสบปัญหาในชีวิต และการลด ละ เลิก สิ่งฟุ่มเฟือย เช่น รถป้ายแดง โทรศัพท์มือถือ สถานเริงรมณ์ เหล้าบุหรี่ และการพนัน

ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาสวนผสม

  • ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยซน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพเศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพหลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิตหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น
  • ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น
  • ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิตและคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสมสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้

บทความที่น่าสนใจ