การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ฉบับมือใหม่ ลงทุนน้อย
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นรูปแบบการเพาะที่ง่าย ใช้วัสดุน้อยสามารถใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นวัสดุเพาะได้ เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าวกากถั่วเหลือง กากมันสำปะหลัง
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเตรียมการก่อนเพาะ
1. นำวัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าว แช่น้ำ 1-2 วัน ส่วนทะลายปาล์ม รดน้ำให้เปียก วันละ 1 ครั้ง หรือแช่น้ำไว้และคลุมพลาสติกสีดำให้มิดชิดทำอย่างนี้ 4 วัน อาหารเสริมทุกชนิด ได้แก่ ไส้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาสับตากแห้ง แช่น้ำให้นาน 1-2 ชั่วโมง ส่วนอาหารเสริมที่ได้จากมูลสัตว์ ได้แก่ มูลไก่ มูลวัว หรือ มูลม้าผสมดินร่วนในอัตราส่วน 2 : 1 ไม่ต้องแช่น้ำ
2. ขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ย่อยดินให้ร่วนละเอียดจะช่วยให้ผลผลิตเห็ดฟางเพิ่มขึ้น 10-20% เนื่องจากเห็ดฟางจะเกิดรอบๆ กองวัสดุเพาะปรับดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม วางแบบพิมพ์ลงบนดิน แบบพิมพ์ทำจากไม้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านล่างกว้าง 35 เชนติเมตรยาว 80-120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร
วิธีการเพาะ
1. วัสดุที่ใช้เพาะ
- หากเพาะด้วยฟางข้าว ให้ใส่ฟางลงไปในแบบพิมพ์ให้หนา 8-12เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่น หรืออาจจะย่ำ 1-2 รอบ ใส่อาหารเสริมบริเวณขอบโดยรอบ กว้าง 5-7 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร
- หากเป็นทะลายปาล์มต้องเทขี้เลื่อยลงไปในแบบพิมพ์ เกลี่ยให้เรียบก่อนนำทะลายปาล์มที่แช่น้ำแล้ววางให้เต็ม และรดน้ำให้ชุ่ม แล้วโรยเชื้อไม่ต้องใส่อาหารเสริม
2. โรยเชื้อเห็ดโดยรอบบนอาหารเสริม
เชื้อเห็ดที่ใช้ควรขี้ให้แตกออกจากกันเสียก่อนเป็นอันเสร็จชั้นที่ 1 เมื่อเสร็จแล้วก็ทำชั้นต่อไปโดยทำเช่นเดียวกับการทำชั้นแรกคือ ใส่ฟางลงในแบบไม้อัดหนา 8-12 เซนติเมตร กดให้แน่นใส่อาหารเสริม ในช่วงฤดูหนาวหรืออุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรทำ 4-5 ชั้น หรือสูง 35-40 เชนติเมตร ในฤดูร้อนควรทำ 3 ชั้น หรือสูง 28-30 เซนติเมตร หากเพาะด้วยทะลายปาล์มสามารถโรยเชื้อเห็ดฟางบนทะลายปาล์มได้เลย
3. เมื่อทำกองเสร็จแล้ว ชั้นสุดท้ายคลุมฟางหนา 2-3 เชนติเมตร รดน้ำบนกองให้โชกอีกครั้ง ถอดแบบพิมพ์ เพื่อนำไปใช้เพาะกองต่อไป
4. เมื่อโรยเชื้อเสร็จแล้ว ใช้เชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกอง จะทำให้ดอกเห็ดเกิดระหว่างกอง เป็นการเพิ่มปริมาณดอกเห็ด การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยมักจะทำกองห่างกันประมาณ1 คืบ ขนานกันไป 10-20 กอง เพื่อทำให้อุณหภูมิและความชื้นของกองไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก
5.คลุมด้วยผ้าพลาสติกใสหรือทึบ โดยคลุมทั้งหมดด้วยผ้าพลาสติก 2 ผืนโดยให้ขอบด้านหนึ่งทับกันบริเวณหลังกอง จากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกทีหรืออาจทำแผงจากปิด ไม่ให้แสงแดดส่องถึง ก่อนการคลุมด้วยพลาสติกอาจทำโครงไม้เหนือกองเพื่อไม่ให้พลาสติกติดหลังกอง แล้วปิดด้วยฟางหลวม ๆ ก่อน
การดูแลรักษาแปลงเพาะเห็ด
- การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ค เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1 – 3 ไม่ต้องเปิดผ้พลาสติกเลย
- เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง (ในระชะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใขของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง แต่ยังไม่เกิดตุ่มดอก)
- นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเหมือนเดิมแล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกชั้นวัสดุป้องกันแสงอาจจะเป็น ใบมะพร้าว แผงหญ้าคา ฟางแห้ง หรือสแลนต่อจากนั้นตั้งแต่วันที่ 4 ของการเพาะให้เปีดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญของดอกเห็ด ควรเปิดตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะอากาศจะไม่ร้อน ในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็กๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
- ในระขะนี้ถ้กองเห็ดแห้งให้รคน้ำเบาๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้าพลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
- ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7 – 9 วัน ของการเพาะเห็ด แล้วจะเก็บดอกเห็ดได้ราว 2 – 3 วัน หลังจากนั้นจะเก็บผลผลิตได้น้อยลง (ถ้าฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1 – 2 กิโลกรัม)
การเก็บผลผลิต
การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้าๆ เพราะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3 – 4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรงโคนดอก โยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลายๆ ดอกให้เก็บ
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , www.sarakaset.com
บทความที่น่าสนใจ